unbreakable เกิดในยุคที่จักรวาลมาร์เวลและดีซียังไม่ตีตลาดภาพยนตร์ ในยุคนั้นจะหาหนังจากเกมหรือหนังยอดมนุษย์ที่ดูแล้วยังไม่เหมือนงานประกวดแฟนซีหรือลิเกฝรั่งได้ยากเย็น
La La Land — รักกับฝันอาจไปด้วยกันไม่ได้ ถ้าไม่ใช้ “เรา”
La La Land คือ Moulin Rouge ของ 2017 และของทศวรรษที่ผ่านมา หน้าหนังเก่าเคารพความเซเวนตี้ส์ แต่เป็นความรู้สึกเจ็บแปลบแบบคนสมัยนี้ประเภทที่ไขว่คว้าอนาคตจนถึงวันที่เห็นอดีตของตัวเองลอยผ่านหน้าไป แล้วได้แต่มองด้วยความทรมานใจว่าถ้ามีโอกาสเลือกอีกทีเราก็อาจเลือกสิ่งที่แตกต่างจากเดิมเพราะตอนนี้รู้แล้วว่ามันผิดพลาดตรงไหน แต่ถึงวันนี้เลือกได้ใหม่ ก็ไม่มีทางแน่ใจเลยว่าอีกฝ่ายจะเลือกกับเราไหมด้วยอยู่ดี นั่นเป็นเพราะหลายครั้ง (เราเองด้วย) มักวางแผนอนาคตของ “เรา” โดยมี “ฉัน” เป็นตัวตั้ง… ก็เพราะเราอาจไม่เคยได้รักใครจริงๆ ดูสักทีมั้ง เนอะ? 1. นั่งถกกับเพื่อนบ่อยเรื่องความรักหรือความฝันของคนเรา อะไรสำคัญกว่ากัน แล้วก็ดูเหมือนจะเป็นเราได้ที่ถกประเด็นนี้บ่อยสุดกับเพื่อนๆ ตอนที่เขายังไม่ปักใจไปทางใดทางหนึ่งเพราะดูเหมือนมันดีทั้งคู่ แล้วสุดท้ายในช่วงชีวิตถัดมาก็เป็นผมที่ไปหาคนอื่นถกต่อด้วย เพราะว่าเพื่อนคนเมื่อกี้ที่ถกด้วยก่อนหน้านั้นตอนนี้ติดตามความรักไปแล้ว และดูเหมือนความฝันของเขาก็จะปรับเปลี่ยนรูปแบบตามกันไปเพื่อให้ลงตัว เพื่อให้ซัพพอร์ทครอบครัว …ก่อนหน้านี้เพื่อนผมบางคนไม่เหมือนพ่อบ้านเลยด้วยซ้ำ แต่ทุกวันนี้กลายเป็นคุณพ่อมือใหม่ที่มีจุดหมายเพื่อครอบครัว—เพื่อลูก—อย่างชัดเจน เหมือนทุกคนยืนยันว่าความรักกับความฝัน อะไรจะมาก่อนก็แล้วแต่ มันไม่สำคัญเท่าที่เราควรเลือกความรักไว้เป็นอันดับแรก 2. La La Land เป็นละครเวทีแบบจับมาทำเป็นหนัง (เชื่อว่าหลังจากนี้มันคงกลายเป็นบรอดเวย์ได้แน่ๆ) หนังนั้นช่วยให้เดินเรื่องด้วยภาพสวยๆ งามๆ คั่นกลางได้ตลอดเรื่อง เลยทำให้ละครมีลูกเล่นได้มากกว่าการเป็นละครเวที แต่ก็นั่นแหละ อลังการคนละแบบ และเท่าที่เห็นก็นึกไม่ออกเหมือนกันว่าถ้าจะทำละครเวทีให้ได้ภาพ ได้ความต่อเนื่องของแต่ละซีนอย่างแนบเนียนเท่าในหนัง บนเวทีละครจะต้องใส่แรงทำ production ขนาดไหนถึงจะได้ดีกรีเท่ากัน …
Continue reading "La La Land — รักกับฝันอาจไปด้วยกันไม่ได้ ถ้าไม่ใช้ “เรา”"
ฝันระยะยาว เรียนรู้จากคนอื่น ให้เกียรติบุคลากร
โน้ตที่ 1 จากหนังสือ Finnish Lessons 2.0 ของ Pasi Sahlberg ที่สรุปสามแนวคิดหลักที่มีผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาในฟินแลนด์
How Basic Calligraphy Class taught me about Life Long Learning
การได้เริ่มเรียนรู้กับ experts ที่นอกจากจะเชี่ยวชาญ (ดี) ที่เตรียมลำดับการสอนได้ (ดีกว่ามาก) นั้นมันเป็นทั้งทางลัด และอันที่จริงมันเป็นรูปแบบแรกสุดของการเรียนรู้ของมนุษย์มาแต่โบราณแล้ว 🙂
เขียน essay อย่างไรให้ไม่กดดัน (มากนัก)
ถามว่าใช้อะไรทำให้ส่งงานทันตามกำหนด ใช้อยู่สองอย่างคือตาราง และความกลัว
ปีนัง ที่รู้สึก 12 มิถุนา 16
มาเลเซียเป็นยังไงไม่รู้ แต่เศรษฐกิจและสังคมในจอร์จทาวน์ #ปีนัง อยู่ในระยะเลือกทางเดิน และดูเหมือนว่าก้าวก่อนหน้าจะไม่ใช่ก้าวที่ดีสักเท่าไร
นิราศ Startups Business Team
ทีม business หน้าใหม่ๆ ของคนที่กำลังจะเป็น startups มักจะทำผิดเหมือนๆ กันอยู่ข้อหนึ่งครับ คือผลักธุรกิจเร็วกว่าสปีดที่มันทำได้ ผลที่ได้คือ ผิดใจกับฝั่ง product ทั้งที่จริงๆ การเกิดของ tech startups นั้นทิศทางมันตรงข้ามกันครับ มันเกิดจากมี product มาก่อน แล้ว business ค่อยเกิดตามมา