ในบรรดาบทวิจารณ์สั้นๆ ในทวิตเตอร์ที่ #movietwit นี่ พอตั้งใจอ่านทีไรก็จะรู้สึกว่าเจออะไรให้เราคันมือคันไม้ขึ้นมาทุกที เนื้อเรื่องสับสนวุ่นวายบ้างล่ะเลยรู้สึกไม่สุด (เพราะชินกับการเล่าเรื่องเดียว ซับเจ็กต์เดียวตลอดเรื่องแบบที่เคยดูมาตลอดชีวิต) หรือจะเป็น CG เหมือนการ์ตูนมากเลย (พอมันเหมือนหุ่นยนต์ดูแล้วจับได้ว่าซีจีคนพวกเดียวกันก็จะเปลี่ยนมาพูดว่าซีจีไม่เนียนแทน) และ ฯลฯ ที่ชวนให้เวียนหัวกับทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามาในทำนองนี้ประเด็นคือ ทุกสิ่งที่วิจารณ์คือสิ่งที่มองเห็นมาทั้งนั้น สรุปคือคนพวกนี้ไม่ได้ไปถึงประเด็นของอะไรนอกจากบรรดาภาพและเสียงที่ประเคนให้เลย รับรู้ได้ตื้นดีจริงๆ
และทั้งหมดมีแพทเทิร์นคล้ายกันคือ คนเหล่านี้ไม่รู้จักคอมิคบุ๊ค (Comic Books) เกิดไม่ทันหนังสือการ์ตูนสีสี่ตลอดเล่มของมาร์เวล ไม่เข้าใจขนบของคอมิค และที่บางคนแย่ไปกว่านั้นคือไม่รู้จักภูมิหลังของสไปเดอร์แมน รู้แค่ว่าโดนแมงมุมกัดแต่ไม่เข้าใจเลยว่าอะไรเกิดขึ้นกับพีเทอร์ พาร์เกอร์ บ้าง ส่วนตัวเราชอบที่ผู้กำกับมาร์ค เว็บบ์ ตีความสไปเดอร์แมนภาคนี้เป็นแบบนี้ มันช่างคอมิคสิ้นดี
หนังดีไม่ดีอยู่ที่การเลือกประเด็นมาปั้นเป็นบท การรักษาความต่อเนื่องของจักรวาลของตัวหนังเองในภาคต่อภาค และอยู่ที่ “แก่น” ที่คนดูหนังควรสังเคราะห์ออกมาได้แม้จะดูเพื่อความบันเทิงก็ตาม…ไม่งั้นเขาจะให้รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมกันด้วยอะไรครับ?
อยากให้คนพวกนี้วิจารณ์ Star Wars อีกครั้งตอนที่ได้ดูภาค 7 ที่กำลังสร้าง ขอทำนายไว้ว่าจะมีใครบางคนใน #movietwit นี่แหละที่จะพูดว่าเทคนิคนี้ หรือเนื้อเรื่องแบบนี้เชยฉิบ ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่รู้เหนือรู้ใต้อะไรเกี่ยวกับสตาร์วอร์สเลย
เอาเป็นว่าวันนี้เขียนให้ใครอ่านก็ไม่รู้ แต่หาทางรู้ให้มันเยอะกว่าการดูหนังภาคก่อนหน้าก็จะดีมากครับ ก่อนจะพะยี่ห้อตัวเองว่าวิจารณ์หนังได้อะนะ
นิดๆ หน่อยๆ เกี่ยวกับสไปเดอร์แมน

อ้างอิงที่ Wikipedia เลยละกัน ขอคัดมาลงบางอย่างที่เกี่ยวกับบรรดาผู้ที่ไม่รู้ข้างบนได้วิพากษ์เอาไว้ เพราะเข้าใจว่าสไปเดอร์แมนต้องเป็นอย่างที่เขาคิด
ผลพวงจากการถูกกัดแล้วไม่ตาย เพราะดีเอ็นเอเข้ากันได้กับแมงมุมนั้น บรรดาความสามารถทั้งหลายของสไปเดอร์แมนและพีเทอร์ในร่างปรกติด้วยนั้นมีตั้งแต่
- พ่นใยแมงมุมได้
- ประสิทธิภาพร่างกายพัฒนาขึ้น (enhancement) กล่าวคือกระดูก เนื้อเยื่อ ข้อต่อ เส้นเอ็น ทุกอย่างทำงานได้ดีกว่ามนุษย์ธรรมดา และยกของหนักๆ ได้เกินตัว เช่น รถตำรวจ มีคนบอกไว้ว่าสูงสุด 25 ตันมั้ง
- มีลางสังหรณ์ต่อเหตุการณ์ต่างๆ ล่วงหน้าทั้งสั้นและยาว นิยมเรียกว่าสไปเดอร์เซ้นส์ (spider sense)
- ที่เด่นที่สุดคือความยืดหยุ่น (reflexes) ของร่างกายพีเทอร์นั้นทำให้เขาบิดตัว ดัดตนในรูปแบบผิดมนุษย์มนาได้ เราจึงมักเห็นท่าพริ้วแบบแปลกๆ ของสไปดี้บิดไปบิดมาประหลาดแต่สวยงาม เช่น เวลากระโดดหลบกระสุนหรือเวลายืนบนสายไฟด้วยนิ้วเดียว
- กระดูกรักษาอาการหักเองได้ในระดับชั่วโมง
- สายตาดีระดับ 20/20 แต่เคยโดนศัตรูทำให้ตาบอดแต่ก็หายดีในระดับชั่วโมงเช่นกัน
- กล่าวโดยรวม ร่างกายซ่อมไม่เร็วเท่า Hulk หรือ Wolverine
- มีความทนทานต่อพิษและยามากกว่ามนุษย์ปรกติหลายเท่า ดังนั้นต้องกินหรือโดนเยอะกว่าปรกติ ในเรื่องจะเห็นพีเทอร์ซื้อยาทีเพียบเลยก็เพราะเหตุนี้
- สไปดี้แพ้ไวรัสจึงเป็นหวัดบ่อย และแพ้เอธิลคลอไรด์ ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการกำจัดแมงมุม
- เกาะกำแพงได้ แต่หลุดในบางกรณี เช่น สารหล่อลื่น สนามแม่เหล็ก
- ฯลฯ และความสามารถเหล่านี้ยังงอกออกมาเรื่อยๆ ได้ตราบเท่าที่ผู้แต่งยังมีชีวิตอยู่

นิดๆ หน่อยๆ เกี่ยวกับความเป็นการ์ตูนรายเดือน
- การ์ตูนรายเดือนต้องทำให้คนอยากอ่านเล่มหน้าต่อให้ได้ นั่นคือสาเหตุที่ตัวร้ายตัวใหม่มักจะปรากฏโฉมท้ายเล่มซึ่งมักมีให้ดูไม่ถึงสิบหน้า และยิ่งตัวร้ายตัวใหม่ดูเท่หรือเก่งมากเท่าไร คำว่า to be continued… ก็จะยิ่งขลังมากขึ้นเท่านั้นนี่คืออย่างหนึ่งที่อยากให้คนดูแบบไทยๆ คิดทันผู้กำกับ (ถ้ารักจะซึมซับวัฒนธรรมฝรั่ง แบบฝรั่งๆ) สไปเดอร์แมนภาคนี้เล่นมุกเดียวกับหนังสือคอมิคเลย
- คอมิคจะไม่เท้าความเรื่องเดิมๆ ให้มากเรื่องดังที่เราเห็นในภาคนี้ และแต่ละเล่มจะมีตัวละครใหม่ๆ โผล่มาแซมตลอดเล่ม และมักเป็นปมสำหรับเล่มถัดไป การมีพล็อทคู่ขนานเยอะๆ แบบนี้ทำให้ตัวร้ายในคอมิคไม่ต้องเริ่มสร้างที่หน้าหนึ่งของทุกเล่มซึ่งมันเปลืองเวลา และคนอ่านก็เบื่อที่เดาได้ว่าทั้งเล่มจะขึ้นต้นและจบแบบเดียวกันเสมอแต่ก็ดูเหมือนคนไทยจะชอบแบบนี้คือชอบให้เล่าตั้งแต่ต้น ปัญหาคือเขาไม่รู้จะแคร์คนที่ไม่รู้จักอะไรเลยเกี่ยวกับตัวละครพวกนี้ไปทำไม สไปเดอร์แมนเป็นของคนอเมริกัน เราไม่รู้วัฒนธรรมเขาเอง
ปัญหาของคนไทยคงเป็นการเดินเข้าโรงหนังและคาดหวังจะได้ดูแพทเทิร์นเนื้อเรื่องที่ซ้ำซาก เรียงเรื่องแบบเดิมๆ ใน CG ใหม่ๆ ละมั้ง - บทจะพูดเยอะแม้แต่ในตัวละครที่ดูเป็นคนไม่ช่างพูด (ก็เป็นฟองความคิดแทน) และในบางสถานการณ์ที่กำลังกระโดดอยู่ หรือในชั่วเสี้ยววินาทีหนึ่งก็จะพูดอะไรๆ ได้ยาวมาก ดังเช่นภาพนี้ เอเลคโทรกำลังลำบาก
นี่เอเล็คโทรนะ กำลังลำบากแต่พูดมากจริ๊งงง ภาพจาก marvel.wikia.com ซึ่งพอมาทำเป็นหนังมันแสดงออกทางอารมณ์ด้วยนักแสดงได้เยอะกว่า ข้อนี้อาจเป็นข้อเสียข้อเดียวที่ผู้กำกับลืมใช้ความเป็นภาพยนตร์ให้เป็นประโยชน์
ส่วนตัวผมดีใจที่ภาคนี้ออกมาเป็นอย่างนี้ เหมือนได้อ่านคอมิคแบบ Live-action แต่เหตุของความรำคาญของบล็อกตอนนี้ก็คงเริ่มมาจากปัญหาที่เราทุกคนหรือแม้แต่ตัวผมเองก็เป็น คือเราต่างคนต่างเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของเราเองได้ ในทวิตเตอร์
โอเค ปัญหาสำหรับเรื่องนี้คือผมคงต้องไล่ Mute หรือ Block ความเห็นเหล่านั้นไปเองเงียบล่ะมั้ง
รูปจาก comicbookmovie.com, marvel.wikia.com และ indiewire.com